บริษัท เอส.เจ สกรูไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่)
โทร 02-880-3636, 064-197-9191
  • th

เจโบลท์ (J-BOLT)


เจโบลท์ (J-BOLT)

เจโบลท์ (J-BOLT)

เจโบลท์ เป็นเหล็กตันที่มีลักษณะรูปทรงกระบอก โดยจะทำการดัดเหล็กเป็นรูปตัว J ซึ่งส่วนใหญ่การนำ J-Bolt ไปใช้งานนั้น มักจะใช้ในการติดตั้งโครงสร้างในส่วนของเสากับฐานราก นิยมใช้ฝังไว้ในแบบหล่อตอม่อ และจัดให้ได้แนวหรือระดับตามแบบของเสาสำเร็จรูปที่ต้องการ หลังจากนั้นจะเทซีเมนต์ผสมพิเศษลงไป ซึ่งจะให้ค่ารับกำลังอัดสูง แล้วจึงนำเสาสำเร็จรูปมาติดตั้ง โดยใช้น็อตและใส่แหวนด้านบน ทำการขันน็อตให้แน่น ตัวอย่าง การติดตัั้ง เจโบลท์ สั่งทำ ในส่วนฐานราก ดังรูป

ดังนั้น ฐานรากที่ดีจะต้องใช้วัตถุดิบที่ดีด้วยเช่นกัน การใช้งาน J-BOLT ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ในการติดตั้งโครงสร้างในส่วนของเสากับฐานราก จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตัวเสา ม่ั่นคง แข็งแรงและสามารถรับน้ำหนักได้มาก ซึ่งในงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะรู้จักว่า ฐานราก และตอม่อ นั้นคืออะไร มีส่วนสำคัญอย่างไรในโครงสร้าง เมื่อพูดถึงการสร้างบ้านใหม่ อาจมีหลายคนที่ไม่ทราบว่า ฐานราก และตอม่อ คืออะไร มีหน้าที่และความสำคัญยังไงบ้าง หรือรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร?

ฉะนั้น เราจะมาทำความรู้จักกับฐานรากและตอม่อกันว่ามีไว้ทำไม?

และมีความสำคัญในโครงสร้างบ้านหรืออาคารอย่างไร?

ตัวฐานรากและตอม่อ

นั้น เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงสร้างที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีผลต่อการรับน้ำหนักของตัวอาคารหรือบ้านทั้งหลัง โดยส่วนใหญ่จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพราะในส่วนของชั้นดินจะมีความชื้น ดังนั้น วัตถุที่ใช้เป็นส่วนโครงสร้างจึงเป็นเหล็ก และมีคุณสมบัติที่ทนต่อความชื้นได้ดีนั่นเอง

ฐานราก

เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่รับน้ำหนักจากตอม่อ แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ดินโดยตรง หรือถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม โดยสามารถแบ่งฐานรากออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ฐานรากแบบวางบนดิน และฐานรากที่มีเสาเข็ม

ฐานรากวางบนดินหรือฐานรากแผ่ (Spread Foundation) คือ ฐานรากที่ไม่ใช้เสาเข็ม ซึ่งฐานรากจะใช้ตัวมันเอง ถ่ายน้ำหนักอาคารลงไปยังดินหรือหินที่รองรับโดยตรง ดังนั้น ฐานรากจึงต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะกระจายน้ำหนักให้แผ่ลงดินหรือหิน 

ข้อดี ฐานรากประเภทนี้เหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีดินชั้นบนแข็ง ยากต่อการขุดเจาะ หรือเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่มีน้ำหนักไม่มากนัก

ข้อเสีย อาจมีการทรุดตัวได้ตามสภาพดินและน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง

ฐานรากวางบนดินสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. ฐานรากแผ่เดี่ยว (Isolate Spread Footing) เป็นฐานรากที่รับน้ำหนักของเสาหรือตอม่อเพียงต้นเดียว แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ดิน ระยะห่างของเสาแต่ละต้นจะห่างกันไม่มากนัก 

2. ฐานรากแผ่ร่วม (Combines Footings) คือ ฐานรากที่มีตอม่อมากกว่า 2 ต้นขึ้นไปอยู่รวมในฐานรากเดียวกัน มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถทำฐานรากแผ่เดี่ยวแยกกันได้ เช่น บ้านที่มีช่วงเสาห่างกัน  ประมาณ 1.5 – 2 เมตร

3. ฐานรากแผ่ปูพรม (Mat or Raft Foundation) มีลักษณะเป็นฐานแผ่ร่วมขนาดใหญ่เป็นผืนเดียวกันทั้งหมด เสาทุกต้นจะวางอยู่บนฐานรากนี้ มักใช้ในกรณีที่ดินมีความสามารถในการรับแรงน้อย ซึ่งส่งผลให้ต้องมีเสาค่อนข้างถี่

ฐานรากที่มีเสาเข็มรองรับ (Pile Foundation) คือ ฐานรากที่อาศัยเสาเข็มในการถ่ายเทน้ำหนักไปยังชั้นดินแข็งที่อยู่ลึกลงไป ซึ่งจะเหมาะกับสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อน และมีระยะความลึกของชั้นดินแข็งไม่เท่ากัน เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีความลึกของชั้นดินแข็งประมาณ 17-23 ม. ซึ่งหมายถึงความยาวของเสาเข็มที่รองรับในแต่ละพื้นที่นั่นเอง

การเลือกฐานราก

ในการเลือกฐานรากว่าแบบไหนเหมาะกับโครงสร้างบ้าน ให้ดูจากคุณภาพของชั้นดินเป็นหลัก โดยฐานรากแบบแผ่จะเหมาะกับดินแน่น ๆ ที่มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดอาการทรุดตัวเท่านั้น ส่วนดินเนื้ออ่อนจำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อช่วยรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้าน โดยจะต้องตอกเสาเข็มลงไปให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง และต้องใช้ความชำนาญเป็นสำคัญ

ตอม่อ

คือ เสาตอม่อเป็นโครงสร้างที่รับน้ำหนักของอาคารและถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก และฐานรากจะถ่ายน้ำหนักต่อลงดินหรือถ่ายลงเสาเข็มก่อนและถ่ายลงสู่ดิน ปกติแล้วหลังจากถอดแบบด้านข้างฐานรากแล้ว ไม่จะเป็นฐานรากแผ่ หรือฐานรากเสาเข็มจะสามารถก่อสร้างเสาตอม่อได้เลยเพราะเราจะวางเหล็กเสาตอม่อตั้งแต่ตอนก่อสร้างฐานรากแล้ว

1. ในตอนก่อสร้างฐานรากนั้น เราจะวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก แต่ต้องทำการตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานรากไม่ให้เกิดการเยื้องศูนย์

2. ทำการหาแนวสำหรับติดตั้งไม้แบบเสาตอม่อ ทำแนวการตั้งไม้แบบโดยการขีดเส้นเพื่อสะดวกต่อการประกอบแบบหล่อ

3. ติดตั้งแบบหล่อเสาตอม่อ และติดตั้งค้ำยัน โดยขนาดเป็นตามแบบก่อสร้าง จากนั้นหาระดับความสูงของเสาตอม่อโดยเทียบกับระดับ + 0.00 ซึ่งระดับที่ได้นี้จะเป็นระดับการเทคอนกรีตด้วย

4. เทคอนกรีตเสาตอม่อให้ได้ระดับที่ต้องการพร้อมกับการทำให้คอนกรีตแน่นตัวโดยใช้เครื่องสั่นคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้เทต้องมีกำลังอัดตามที่แบบก่อสร้างระบุ

5. เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ประมาณ 2 วันสามารถถอดไม้แบบออกได้จากนั้นทำการบ่มคอนกรีตโดยจะใช้วิธีบ่มชื้นหรือใช้พลาสติกคลุมหรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีตก็ได้

6. เมื่อทำฐานรากและเสาตอม่อเรียบร้อยแล้ว ทำการถมดินฐานราก และจะทำการก่อสร้างคาน พื้น เสาต่อไป

ข้อแนะนำ: ควรทำตอม่อสูงกว่าพื้นดิน เพื่อลดความชื้นที่จะสัมผัสโครงสร้าง

การติดตั้งเหล็กแผ่นฐานเสา (Base Plate)

ติดตั้งแบบใช้โบลท์ตัวเจ (J Bolt)

ทำได้โดยการฝังเกลียวรูปตัว J ในแบบหล่อตอม่อ หลังจากเทและบ่มคอนกรีตแล้ว จึงนำเหล็กแผ่นมาติดตั้ง ปรับระดับโดยใช้ปูนหรือหมุนน็อต รองเหล็กแผ่น ใส่แหวนด้านบนและขันน็อตให้แน่น ดังรูป

มาดูความสำคัญของเสากันดีกว่า ว่าเสามีหน้าที่อะไร? แล้วเกี่ยวอะไรกับฐานราก และตอม่อ..

เสา

คือ ส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักจาก “อเส” คาน (หรือพื้นไร้คาน) ของทุกชั้น น้ำหนักต่างๆ ในอาคารจะถ่ายมาลงเสาโดยเสาจะเป็นองค์อาคารที่รับน้ำหนักในแนวดิ่ง และในบางครั้งต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย เสาจะมีรูปแบบ และข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของเสา ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสา และลักษณะปลายยึดของหัวเสา ในเรื่องความสวยงาม อาจมีการก่อผนังรอบเสาเพื่อเพิ่มขนาดเสาเดิมให้สวยงามตามสัดส่วนที่ออกแบบไว้ 

เสาและคาน

เป็นโครงสร้างหลักสำคัญที่เปรียบเสมือนโครงกระดูกของบ้าน ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงมั่นคงของบ้านทั้งหลัง การสร้างบ้านให้ประหยัดและถูกต้องตามหลักการก่อสร้าง จึงต้องพิจารณาในเรื่องของเสาและคานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงกระบวนการก่อสร้าง โครงสร้างเสาและคานมีหลากหลายประเภท โดยที่นิยมกันในปัจจุบัน คือ โครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และโครงสร้างคอนกรีต

– โครงสร้างไม้ ปัจจุบันถูกลดความนิยมลง เพราะไม้โครงสร้างซึ่งต้องเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่และคุณภาพดีมีปริมาณลดลงทุกวัน ราคาจึงค่อนข้างสูง และยังต้องอาศัยการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับกระแสความคิดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย

– โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตมีส่วนประกอบหลักคือ ปูนซีเมนต์ หิน กรวดหรือทราย และน้ำ มีคุณสมบัติในการรับแรงอัดได้ดี แต่รับแรงดึงได้ค่อนข้างต่ำมาก เมื่อนำไปทำเป็นโครงสร้างบ้าน จึงต้องมีการเสริมเหล็ก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการรับแรงดึง

– โครงสร้างเหล็ก เหล็กที่นำมาทำเป็นโครงสร้างบ้านต้องเป็นเหล็กรูปพรรณ การออกแบบโครงสร้างที่รับน้ำหนักอาคารที่เท่ากัน โครงสร้างเหล็กจะมีขนาดเล็กและบางกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงทำให้น้ำหนักโดยรวมเบากว่าด้วย และส่งผลให้ระบบฐานรากของอาคารมีขนาดเล็กกว่าและประหยัดกว่านั่นเอง แต่ไม่ค่อยพบการสร้างบ้านด้วยโครงสร้างเหล็ก เนื่องจากสาเหตุในเรื่องแรงงานที่มีความชำนาญในการก่อสร้างยังมีไม่มาก อีกทั้งด้วยคุณสมบัติของวัสดุเองที่ไม่สามารถทนไฟและการกัดกร่อนได้ 

เห็นไหมละ!! 

ว่าโครงสร้างที่ดีนั้น.. มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อความปลอดภัย ทนทาน และทำให้บ้าน หรืออาคาร มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ควรคำนึงถึงการใช้วัตถุที่นำมาใช้ในการสร้างฐานราก ซึ่ง เจโบลท์ ของบริษัท เอส. เจ สกรูไทย จำกัด ของเรา มีมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 : 2008 สามารถสั่งซื้อ สั่งผลิตเจโบลท์ขนาดพิเศษได้ตามความต้องการของท่าน และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย 

“เมื่อเลือกใช้วัตถุดิบที่ดี จะทำให้ฐานรากดี นำไปสู่โครงสร้างที่ดีเช่นกัน"

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ …

การนำวัตถุต่างๆ ไปปรับใช้ หรือการ D.I.Y เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นการนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว หรือของที่ไม่จำเป็น มาปรับเปลี่ยนให้ใช้งานได้  ดังนั้น J-BOLT สามารถนำไปปรับใช้กับงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเป็นส่วนโครงสร้างของฐานราก ยกตัวอย่างเช่น การนำ  เกลียวเร่ง  มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และความสวยงามได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก https://www.scgbuildingmaterials.com